วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

Hot Short SCIB 20010-01-14

กำไรไตรมาส 4/2009 โตแข็งแกร่ง แนะให้จับตาการยื่นเสนอราคาซื้อในเดือน ก.พ.

ช่วงต้นเดือน ก.พ. จะมีการยื่นราคาเสนอซื้อ SCIB จำนวน 47.58% จากกองทุนฟื้นฟูและมีการคาดกันว่าการซื้อรวมถึงการอนุมัติจากกระทรวงการคลังจะเสร็จสิ้นได้ประมาณไตรมาส2/2010 ดังนั้น กลุ่มสถาบันการเงินที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกรอบแรกที่เน้นเรื่อง Synergy มาแล้วจะได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากราคาเสนอซื้อ ดังนั้น เรายังคงคาดว่าราคาหุ้น SCIB จะมีความผันผวนในช่วงไตรมาส 1-2 นี้ได้อีก โดยต้องจับตามองความเสี่ยงทางการเมืองด้วย เพราะดีลนี้จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังด้วย โดยดูจากตัวอย่างของดีลของ ไทยธนาคารที่ยืดเยื้อออกไปบ้าง

เราคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 4/2009 ของ SCIB จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น66% QoQ จาก NIM ที่ยังคงแข็งแกร่งหลังโครงสร้างเงินฝากเปลี่ยนเป็นออมทรัพย์มากขึ้น และการเน้นปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มี Loan Yield สูง นอกจากนั้น SCIB ไม่มีค่าเผื่อการด้อยค่าเหมือนในไตรมาส 4/2008 ดังนั้น คาดว่ากำไรสุทธิทั้งปี 2009 จะอยู่ที่ 4,895 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเพราะการกระเตื้องขึ้นของสินเชื่อ NIM ที่กว้าง และมีกำไรจากการลงทุนดีกว่าที่คาดไว้

นอกจากนั้น คาดว่ากำไรสุทธิของปี 2010 จะอยู่ที่ 5,909 ล้านบาท จากสินเชื่อที่ SCIB ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 6% และ GDP ที่เติบโต 3% โดยมีค่าสำรองหนี้อยู่ที่ 50 bps ของสินเชื่อและอัตราส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมอยู่ที่ 56% ดังนั้น หากให้ PBV อยู่ที่ 1.2 เท่า มูลค่าพื้นฐานจะอยู่ที่ 27 และแนะนำเพียง “ขายทำกำไรระยะสั้น” แต่คาดว่าการเก็งกำไรราคาเสนอซื้อจะทำให้ราคาหุ้น SCIB ยังมีความผันผวนได้อีก ดังนั้น แนะนำให้รอซื้อกลับช่วงที่ราคาต่ำกว่า 27 บาท

Company Visit Note :
• ปัจจัยการเมืองในไตรมาส 1/2010 และการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น SCIB ที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเก็งกำไร การขายหุ้น SCIB ในส่วนที่ FIDF ถืออยู่ 47.58% มีประเด็นดังนี้
1. สถาบันการเงินที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาขั้นแรกเป็นกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์เรื่องSynergy ไปแล้ว ดังนั้น การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจึงขึ้นกับราคาเสนอซื้อมากกว่า เราคาดว่าราคาเสนอซื้อหุ้น SCIB จะเป็นเกณฑ์หลักต่อไปในการพิจารณาเลือกผู้ซื้อหุ้น SCIB จาก FIDF ดังนั้น การปรับตัวขึ้นมากเกินไปของราคาหุ้น SCIB จะทำให้ความเสี่ยงสำหรับการเก็งกำไรสูงขึ้น แต่เรามองว่าการปรับตัวลงมาของราคาหุ้นจะเป็นโอกาสของการซื้อเก็งกำไร และการปรับตัวขึ้นที่รุนแรงเกินไปจะเป็นโอกาสของการขายทำกำไรมากกว่าเรามองว่าสถาบันการเงินที่สามารถสร้าง Synergy กับ SCIB ได้มากสุด (ตามที่เคยวิเคราะห์ในช่วงต้นปี 2009 ไปแล้ว) และมีสภาพคล่องสูง จะมีโอกาสเสนอราคาเทนเดอร์ออฟเฟอร์ได้สูงสุด และจะทำให้มีโอกาสชนะการประมูลซื้อหุ้น SCIB ได้ดังนั้น เกมส์ราคาเสนอซื้อจึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองมาก โดยราคาเสนอซื้อจะมีการยื่นประมาณต้นเดือน ก.พ. นี้
2. ความเสี่ยงทางการเมืองยังเป็นสิ่งที่ต้องจับตามอง กระบวนการขายหุ้นจะจบลงที่การอนุมัติโดยกระทรวงการคลังซึ่งคาดว่าจะจบได้ภายในไตรมาส 2/2010 ดังนั้น เรามองว่าความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองจะมีผลต่อดีลนี้ด้วยเนื่องจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังจะเป็นผู้อนุมัติการขายหุ้น SCIB ในส่วนของ FIDF ใน
ขั้นตอนสุดท้าย และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจทำให้การตัดสินใจขั้นสุดท้ายต้องเลื่อนออกไปเหมือนที่เคยเกิดกับ ไทยธนาคาร (BT) มาก่อน ดังนั้นประเด็นดังกล่าวอาจมีผลทำให้ราคาหุ้น SCIB มีความผันผวนได้
• คาดว่ากำไรในไตรมาส 4/2009 ของ SCIB จะอยู่ที่ 1,816 ล้านบาท และได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2009 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4,895 ล้านบาท เพราะการพลิกกลับของสินเชื่อ และ NIM ที่ดีกว่าที่คาดไว้ก่อนนี้
SCIB คาดว่าสินเชื่อทั้งปี 2009 จะสามารถขยับขึ้นจาก -1.67% YTD ใน 3Q09 มาเป็น 0% YTD ภายในสิ้นปี 2009 ได้ หลังสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีการเติบโตแข็งแกร่ง ทำให้คาดว่าสินเชื่อในไตรมาส 4/2009 จะเพิ่มขึ้น 1% QoQ เหมือนกับหลายธนาคารที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ SCIB มีการเน้นในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากกว่าเท่านั้น
NIM ที่ไม่รวมปันผลจาก VAYU1 ใน 4Q09 จะทรงตัวจากใน 3Q09 อย่างไรก็ตาม หากรวมปันผลจาก VAYU1 แล้วคาดว่า NIM ใน 4Q09 จะอยู่ที่ 3.30% ใกล้เคียงกับใน 3Q09 เนื่องจากผลของการปรับโครงสร้างเงินฝากที่เน้นเงินฝากออมทรัพย์มากขึ้น นอกจากนั้น การเพิ่มสัดส่วนของธุรกิจรายย่อยที่มี Loan Yield สูงกว่าก็มีส่วนช่วยหนุนส่วนต่างของดอกเบี้ยของธนาคารเช่นกัน เรามองว่าแนวโน้มมาร์จิ้นของดอกเบี้ยจากสินเชื่อดังกล่าวจะดีขึ้นต่อเนื่องหลังธนาคารตั้งเป้าสัดส่วนของเงินฝากออมทรัพย์ไว้ที่ 40% ค่าสำรองหนี้ในไตรมาส 4/2010 จะอยู่ที่ 200 ล้านบาท ทำให้ค่าสำรองทั้งปี 2009 อยู่ที่ 2,200 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80 bps ของสินเชื่อในปี 2009 อย่างไรก็ตาม SCIB ได้ตั้งเป้าค่าสำรอง หนี้สำหรับปี 2010 ไว้ที่ 50 bps ของสินเชื่อ ดังนั้น เราคาดว่าค่าสำรองหนี้ของธนาคารจะลดลงมาอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท ในปี 2010 นี้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงลดลงคุณภาพของสินทรัพย์ของธนาคารยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่ายอด NPL ในปี 2009 จะมีการเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ธนาคารมองว่า NPL Ratio จะลดลงต่อในปี 2010 ส่วนการบันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าใน 4Q08 เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้กำไรใน 4Q09 เพิ่มขึ้น เพราะธนาคารไม่มีการตั้งค่าใช้จ่ายดังกล่าวใน 4Q09 ดังนั้น โดยสรุปแล้วเราคาดว่ากำไรสุทธิใน 4Q09 จะเพิ่มขึ้นถึง 66% QoQ หรือ 185% YoY
มาอยู่ที่ 1,816 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมอยู่ที่ 52% และทำให้คาดว่ากำไรสุทธิของทั้งปี 2009 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% YoY โดย NIM อยู่ที่ 3.27% แต่สินเชื่ออยู่ในระดับเดิม และอัตราส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมอยู่ที่ 57% ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้ที่ไม่มากกว่า 60%
• คาดว่ากำไรในปี 2010 จะเติบโตแข็งแกร่งต่อ โดยพันธมิตรใหม่จะหนุนศักยภาพของธนาคารในอนาคต
SCIB ตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อในปี 2010 ไว้ที่ 6% YoY จากสมมติฐานที่กำหนดให้GDP เพิ่มขึ้น 3% YoY โดยจะเน้นที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยเหมือนปีก่อน ซึ่งเรามองว่าจะมีการเติบโตที่ดีเพราะแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยจะช่วยเร่งให้ผู้ซื้อบ้านรีบตัดสินใจซื้อบ้านก่อนอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเราคาดว่า NIM ของ SCIB จะยังคงกว้างขึ้นต่อเพราะผลของการปรับโครงสร้างเงินฝาก และแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในปีนี้จะทำให้เกิดผลบวกจาก Time-Lag Effect ในระยะสั้นต่อกลุ่มธนาคารได้นอกจากนั้น เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมในปี 2010 ของ SCIB จะเพิ่มขึ้น 15% YoY โดยรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ Bancassurance ที่มีการเติบโตสูงมาก และมีสัดส่วนสูงของรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารเป็นปัจจัยหลัก และคาดว่าอัตราส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวมของ SCIB จะอยู่ที่ 56% โดยสรุปแล้ว คาดว่ากำไรสุทธิในปี 2010 จะเพิ่มขึ้น 21% YoY มาอยู่ที่ 5,909 ล้านบาท และได้ประเมินมูลค่าพื้นฐานของธนาคารไว้ที่ 27 บาท จาก PBV ที่ 1.2 เท่า
• กรณีมาบตาพุดยังไม่มีผลต่อ SCIB ในขณะนี้กรณีมาบตาพุดจะยังไม่มีผลต่อ SCIB โดยธนาคารจะยังไม่มีการพิจารณาเรื่องการตั้งสำรองเชิงคุณภาพในขณะนี้จนกว่าจะมีการแจ้งจากธปท.เนื่องจากสินเชื่อในโครงการมาบตาพุดเป็นซินดิเคทโลน โดยธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ 1 ราย ที่วงเงินรวม 3 พันล้านบาท ดังนั้น เราจะยังคงความเห็นกรณีดังกล่าวเหมือนเดิม โดยมองว่าเนื่องจากทางการกำลังเร่งแก้ไขปัญหาระดับชาตินี้

Resource: BSEC Research

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น